การบริโภคอาหาร หรือผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารเคมีปนเปื้อนหรือตกค้างอยู่ จะทำให้ผู้บริโภคได้รับสารพิษตกค้างในอาหาร แม้อาจจะได้รับในปริมาณต่ำ แต่การที่ได้รับเป็นประจำ อาจส่งผลให้เกิดการสะสมสารพิษ เป็นปัญหาเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆในร่างกาย เช่น มีอันตรายต่อระบบสมองและประสาท โดยจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความจำเสื่อม สมาธิสั้น ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในของร่างกาย โดยเฉพาะตับและไต รบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ง่ายต่อการติดเชื้อ และอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆได้ สารเคมีที่เป็นอันตรายและมักพบว่ามีการปนเปื้อนในอาหารได้แก่ สารบอแร๊กซ์ สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) ฟอร์มาลิน และยาฆ่าแมลง โดยอาหารที่มักพบสารเคมีปนเปื้อนเหล่านี้ เช่น ลูกชิ้น หมูบด ลอดช่อง ผัก ผลไม้ดอง ปลาส้ม ปลาเค็ม ถั่วงอก น้ำตาลมะพร้าว อาหารทะเลสด สไบนาง เห็ดสด ผัก ผลไม้สด เป็นต้น อาการที่มักพบหากได้รับสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร คือ อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ อาเจียน ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ท้องร่วง ระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ปวดท้องรุนแรง เยื่อตาอักเสบ หูอื้อ ผิวหนังเป็นผื่น หายใจไม่ออก หมดสติ หรือหากได้รับสารเคมีในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ไตวายและเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้บริโภคต้องตระหนักถึงความสำคัญของอันตรายจากสารเคมีปนเปื้อนที่มีในอาหาร และสามารถทดสอบสารเคมีปนเปื้อนเหล่านี้ได้โดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย ที่จะทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว มีขั้นตอนการทดสอบที่ไม่ยุ่งยาก และให้ผลที่ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกรับประทานอาหารที่มีความปลอดภัย
ผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบฐานหลัก : ดร.วราภรณ์ กุศลารักษ์
เบอร์โทร : 081-577-7561
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบฐานหลัก : คุณจันทนา จันโจมศึก
เบอร์โทร : 088-700-0160
เบอร์โทร : 081-577-7561
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบฐานหลัก : คุณจันทนา จันโจมศึก
เบอร์โทร : 088-700-0160