ฐานการเรียนรู้ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านอณูชีวโมเลกุล เพื่อการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตทางน้ำ” ซึ่งเครื่องหมายดีเอ็นเอจะใช้ในการศึกษาความหลายหลายทางพันธุกรรม เป็นพัฒนาเทคนิคการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในหลอดทดลองด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction, PCR) เพื่อการทําลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprinting) ของสิ่งมีชีวิตด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดต่าง ๆ ซึ่งเครื่องหมายดีเอ็นเอที่มีความจําเพาะในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะสามารถใช้ระบุชนิดสิ่งมีชีวิตได้ โดยขั้นการตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1) การสกัดดีเอ็นเอ 2) การเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอในหลอดทดลองด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส 3) นําผลผลิตดีเอ็นเอที่ได้มาแยกขนาดด้วยวิธีเจลอิเล็กโทรโฟริซิส (gel electrophoresis) ลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ได้สามารถนํามาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น การระบุสายพันธุ์หรือชนิดของสิ่งมีชีวิต การศึกษาวิวัฒนาการและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น
กิจกรรม
กิจกรรมของฐานการเรียนรู้ : ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เทคนิคในการสกัดดีเอ็นเอของสัตว์น้ำ จากการสกัดด้วยชุดสกัดสารพันธุกรรมแบบ Spin Column
ผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบฐานหลัก : รศ.ดร.ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์, รศ.ดร. ฉัตรมงคล สุวรรณภูมิ, ผศ.ดร. กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ และดร.กรทิพย์ กันนิการ์
เบอร์โทร : 087-789-2201
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบฐานหลัก : ดร.กรทิพย์ กันนิการ์
เบอร์โทร : 089-855-9684
เบอร์โทร : 087-789-2201
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบฐานหลัก : ดร.กรทิพย์ กันนิการ์
เบอร์โทร : 089-855-9684